ติดแก้ส ตัด ไม่ตัด ปั้มติ๊ก มีข้อมูลน่าสนใจมาให้อ่านครับ
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 5/10/2010 17:20 โดย baikancha
แก้ไขครั้งสุดท้าย: 5/10/2010 17:20 โดย baikancha
ต้องขอแจ้งก่อนนะครับ คัดลอกมาจาก www.gasthai.com จากคุณ thusiri
อ่านได้จาก http://www.gasthai.com/boardgas/question.asp?id=A34352
หลังจากที่อ่านมาหลายกระทู้เกี่ยวกับการตัด หรือไม่ตัด ปั้มติ๊ก ดี บ้างก็ว่ามีผลเสียอย่างโน้นอย่างนี้ ว่ากันไปต่างๆนาๆ บ้างก็จะเอารายได้กับการตัดปั้ม กันเลย ลองมาอ่านบทความนี้ดูนะครับ เผื่อจะเป็นข้อมูลในการตัดสินใจครับ
ข้อมูลจะเป็นของ TOYOTA ครับแต่หลักการหัวฉีด คงไม่ต่างกันมาก
1 เริ่มจากปั้มติ๊กครับ
ส่วนใหญ่ จะเป็นปั้มแบบ Turbine pump ชึ่งจะจุ่มอยู่ในถังน้ำมัน ที่ท่อทางออกจะมี วาวล์กันกลับ ครับ และก่อน วาวล์กันกลับจะมี ลิ้นระบายความดัน ชึ่งจะรักษาแรงดันอยู่ที่ประมาณ 2.5 บาร์ (Toyota 4A FE)

2 ตัวควบคุมความดัน (Pressure Regulator)
ตัวควบคุมความดัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมค่าความแตกต่างระหว่าง ความดันน้ำมันในกระบบ กับค่าความดันของอากาศในท่อร่วมไอดีให้คงที่ตลอดเวลาจากการที่ความดันของ อากาศในที่ร่วมไอดีมีการเปลี่ยนไปตามความเร็วรอบ และภาระของเครื่องยนต์ดังนั้นถ้าหากความดันของน้ำมันถูกควบคุมไห้คงที่เพียง ค่าเดียวจะทำให้ค่าความแตกต่างระหว่างความดันน้ำมันเชื้อเพลิง กับความดันอากาศในท่อร่วมไอดีมีค่าไม่คงที่แน่นอนซึ่งเป็นเหตุให้น้ำมัน เชื้อเพลิงฉีดเข้าไปผสมกับอากาศในท่อไกดีมีปริมาณไม่เที่ยงตรง ตามระยะเวลาในการฉีดที่กำหนดโดยECU

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของความดันน้ำมันเชื้อเพลิง กับความดันอากาศ ในท่อไอดี ซึ่งจะรักษา ความดัน น้ำมันให้มีค่าความแตกต่างเท่ากันตลอดเวลา( Differential pressure)
ถ้าไม่เหยียบคันเร่ง ความดันในท่อไอดีจะต่ำ(เป็นสูญญากาศมาก) ความดันน้ำมันก็จะถูกควบคุมให้ต่ำลง ถ้าเหยียบคันเร่ง ความดันในท่อไอดีจะสูง(เป็นสูญญากาศน้อย) ความดันน้ำมันก็จะถูกควบคุมให้สูงขึ้น |