HondaCityClub's Archiver




Image Hosted by CompGamer Image Host

Image Hosted by CompGamer Image Host   Image Hosted by CompGamer Image Host

unyana กระทู้เมื่อ 13/7/2021 19:56

pdpa กับความสำคัญในการทำธุรกิจ

ในปัจจุบันการทำธุรกิจโดยมุ่งผลกำไรเพียงอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงหลักมนุษยธรรมคงจะเป็นไปได้ยากแล้ว เพราะหากเมื่อใดที่ผู้ใช้บริการพบว่ามีการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในด้านต่าง ๆ ก็พร้อมที่จะยกเลิกการใช้บริการไปในทันที หากมีตัวเลือกที่ดีกว่า ซึ่งการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการถือว่ามีความสำคัญ โดยในต่างประเทศได้ออกกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ General Data Protection Regulation (GDPR) มาในปี พ.ศ. 2561 ซึ่งในประเทศไทยก็ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ หรือ กฎหมาย pdpa เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ใช้บริการ และยังส่งผลต่อการร่วมมือทางุรกิจระหว่างประเทศด้วย

        กฎหมาย pdpa มีผลต่อการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ ที่เจ้าของธุรกิจจะต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน ซึ่งจะต้องแสดงรายละเอียดอย่างชัดเจนและใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย โดยจะต้องมีกำหนดระยะเวลาการเก็บข้อมูลระบุไว้ และเจ้าของข้อมูลมีสิทธิ์ที่จะถอนความยินยอมได้ตลอดเวลาด้วย จึงกล่าวได้ว่า pdpa คือ ตัวช่วยรักษาสิทธิของผู้บริโภคนั่นเอง ถึงแม้ pdpa จะมีประกาศบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2562 แต่ก็มีการยืดระยะเวลาสำหรับการดำเนินงานให้ถูกต้องตามกฎหมายในบางหมวด จากตอนแรกขยายเวลาออกไป 1 ปี จะมีกำหนดบังคับใช้ช่วงพฤษภาคม 2563 แต่เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ทั้งโรคระบาดและอื่น ๆ อาจส่งผลให้บางองค์กรหรือหน่วยงานดำเนินการไม่ทันตามกำหนดเดิม จึงได้ขยายเวลาเพิ่มออกไปอีก 1 ปี โดยจะมีกำหนดบังคับใช้ช่วง พฤษภาคม 2564

        เมื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นไปได้ง่ายมากขึ้น การที่ผู้อื่นจะเข้าถึงการใช้เทคโนโลยีของเราก็เป็นไปได้ง่ายเช่นเดียวกัน ถ้าไม่มีกฎหมาย pdpa มาควบคุมก็อาจทำให้ข้อมูลส่วนตัวหลุดลอดไปโดยไม่ได้รับความยินยอมได้ อย่างเช่น การเก็บข้อมูลของผู้ที่ใช้บริการบนเว็บไซต์ ซึ่งเป็นข้อมูลทั้งแบบที่ระบุตัวตนได้และไม่สามารถระบุตัวตน การคลิกชมสินค้าหรือบริการต่าง ๆ เมื่อนำมาเชื่อมโยงกันก็จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่า ผู้ใช้บริการเป็นใครและกำลังต้องการอะไร จากนั้นก็จะมีสินค้าหรือบริการที่เราสนใจแสดงให้เห็นอยู่บ่อย ๆ โดยบางเว็บจะถูกตั้งค่าให้เก็บข้อมูลโดยอัตโนมัติ ไม่สามารถเลือกได้ว่าจะยินยอมให้ข้อมูลหรือไม่ ซึ่งถ้ากฎหมายฉบับนี้บังคับใช้แบบเต็มรูปแบบแล้ว การกระทำแบบนี้ก็จะถือว่าผิดกฎหมายทันที

        สำหรับโทษของการฝ่าฝืน [url=https://www.marketingoops.com/news/biz-news/pdpa-columbus-agency/]pdpa คือ[/url] จะมีโทษทั้งทางแพ่งและอาญา โดยทางแพ่งต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับเจ้าของข้อมูลหากมีการกระทำผิดกฎหมายทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ โดยต้องจ่ายเป็นจำนวนจริงตามที่เจ้าของข้อมูลได้จ่ายไปจริง หรือศาลอาจสั่งตัดสินให้จ่ายค่าทดแทนเพิ่มแต่ไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหายจริง ส่วนโทษอาญาจะมีโทษจำคุกสูงสุดถึง 1 หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และถึงแม้กฎหมายฉบับนี้จะยังไม่บังคับใช้เต็มรูปแบบ แต่การเตรียมตัวไว้ก่อน ได้เปรียบกว่าแน่นอน

[b]ที่มาของข้อมูล:[/b]
1.        [url]https://www.uih.co.th/th/knowledge/5-tips[/url]
2.        [url]https://www.acinfotec.com/2019/07/23/data-protection-law-2562/[/url]
3.        [url]http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/069/T_0052.PDF[/url]

หน้า: [1]

Powered by Discuz! Archiver 7.2  © 2001-2009 Comsenz Inc.
Translated Thai by Jaideejung007(Thzaa.com)